รายการ The Chat Room ประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557
ดอยไตแลง เป็นสถานที่ที่เคยเป็นแดนต้องห้าม ไปแล้วจะถูกขึ้นบัญชีดำว่าเป็นพวกต่อต้าน และอาจถูกกองทัพพม่าตามไปอุ้มเอาได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นคนไทใหญ่ในเมียนมาร์ หรือคนไทย
แต่ในยุคที่การเจรจากำลังราบรื่นเป็นไปในเชิงบวก ความสัมพันธ์ไทใหญ่-พม่าหวานชื่นเช่นนี้ ดอยไตแลงนับเป็นอีกที่หนึ่งที่แม้จะไม่ได้ไปถึงได้ง่ายๆเหมือนสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของเมียนมาร์ แต่หากมีโอกาสและเวลา ก็น่าไปสัมผัสสักครั้งในชีวิต
จากประเทศไทย ไปดอยไตแลงง่ายกว่าไปจากฝั่งเมียนมาร์มาก ถือเป็นเหตุผลหลักที่ที่แห่งนี้ได้รับเลือกเป็นฐานที่มั่นของขบวนการกู้ชาติไทใหญ่ เพราะพม่าเข้าถึงได้ยาก การเดินทางเริ่มต้นจากปางมะผ้า แม่ฮ่องสอน ห่างจากปายประมาณ 1 ชั่วโมง ขับรถขึ้นดอยผ่านทางคดเคี้ยวและหุบเขากว้างที่สวยกว่าฝั่งปายหลายเท่า และยังมีความเป็นชนบทคลาสสิกแบบเต็มเปี่ยม สองข้างทางเป็นหมู่บ้านชาวไทใหญ่ แต่ได้สัญชาติไทย ขับไปหนึ่งชั่วโมงก็จะถึงหมู่บ้านไทยบ้านสุดท้าย จากนั้นก็จะเป็นทางลูกรังทรหดแบบคอออฟโร้ดต้องหลงรัก เพียงไม่ถึงครึ่งชั่วโมงก็ถึงดอยไตแลง โดยมีทหารเฝ้าตรวจเช็คเป็นระยะๆทั้งฝั่งไทยและไทใหญ่
ดอยไตแลงไม่ได้มีสภาพเป็นเมืองเจริญ หรือเป็นค่ายทหารแข็งแกร่งมั่นคงแบบที่หลายๆคนคิด แต่มีลักษณะเป็นหมู่บ้านชนบท ทอดตัวอยู่บนสันเขายาวเหยียด ตัวดอยไตแลงสูงที่สุด ตั้งอยู่กึ่งกลาง ล้อมรอบด้วยดอยบริวารอีก 5 ดอย เรียกว่าเป็นชัยภูมิที่ยากจะพิชิต ไม่ว่าใช้กำลังมากแค่ไหน และที่สำคัญ อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี และวิวสวยแบบหาตัวจับยาก มองไปทางไหนก็เป็นทิวเขาสุดลูกหูลูกตา แถมเป็นเขาที่มีประวัติศาสตร์โชกเลือดจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นสมรภูมิทั้งระหว่างว้าและไทใหญ่ กับพม่าและไทใหญ่
ถนนหนทางที่นี่ยังคงเป็นดินลูกรัง เหมือนกับบ้านเรือนที่ยังเป็นเพิงแบบชนบท เพราะคนที่นี่ส่วนใหญ่อพยพหนีการกวาดล้างจากกองทัพพม่า จึงไม่มีทรัพย์สินอะไรมามากนัก และบนดอยก็ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก และไม่ได้มีภูมิศาสตร์เหมาะแก่การอยู่อาศัยมากนัก เนื่องจากมีน้ำน้อย และเป็นที่ลาดชัน เพาะปลูกยาก
แต่ที่นี่ก็ไม่ได้แห้งแล้งกันดารไปเสียทีเดียว กองทัพรัฐฉานพยามยามสร้างสาธารณูปโภค ทั้งโรงเรียน โรงพยาบาล รวมถึงหอประวัติศาสตร์และอนุสาวรีย์วีรกษัตริย์ไทใหญ่ เจ้าเสือข่านฟ้า และอนุสาวรีย์พระนเรศวร กษัตริย์ไทยที่ชาวไทใหญ่นับถือมาก เนื่องจากเป็นผู้รบชนะพม่า และช่วยปลดแอกเหล่าเจ้าฟ้าไทใหญ่ในยุคนั้นจากการเป็นประเทศราชพม่า
นอกจากนี้ ตามชุมชนก็มีร้านค้าขายของเล็กๆน้อยๆ ซึ่งขนมาจากฝั่งไทยเกือบทั้งหมด และมีอาหารไทใหญ่พื้นบ้านที่อาจจะไม่อร่อยเท่าในเมืองใหญ่อย่างเชียงตุงหรือตองยี แต่ก็ได้รสชาติแบบพื้นเมือง ผสมผสานกลิ่นอายของเลือดรักชาติและความเป็นนักสู้ ที่ทำให้การใช้ชีวิตที่นี่ได้อารมณ์ไม่เหมือนที่ไหนๆในเมียนมาร์
ดอยไตแลง เป็นสถานที่ที่เคยเป็นแดนต้องห้าม ไปแล้วจะถูกขึ้นบัญชีดำว่าเป็นพวกต่อต้าน และอาจถูกกองทัพพม่าตามไปอุ้มเอาได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นคนไทใหญ่ในเมียนมาร์ หรือคนไทย
แต่ในยุคที่การเจรจากำลังราบรื่นเป็นไปในเชิงบวก ความสัมพันธ์ไทใหญ่-พม่าหวานชื่นเช่นนี้ ดอยไตแลงนับเป็นอีกที่หนึ่งที่แม้จะไม่ได้ไปถึงได้ง่ายๆเหมือนสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของเมียนมาร์ แต่หากมีโอกาสและเวลา ก็น่าไปสัมผัสสักครั้งในชีวิต
จากประเทศไทย ไปดอยไตแลงง่ายกว่าไปจากฝั่งเมียนมาร์มาก ถือเป็นเหตุผลหลักที่ที่แห่งนี้ได้รับเลือกเป็นฐานที่มั่นของขบวนการกู้ชาติไทใหญ่ เพราะพม่าเข้าถึงได้ยาก การเดินทางเริ่มต้นจากปางมะผ้า แม่ฮ่องสอน ห่างจากปายประมาณ 1 ชั่วโมง ขับรถขึ้นดอยผ่านทางคดเคี้ยวและหุบเขากว้างที่สวยกว่าฝั่งปายหลายเท่า และยังมีความเป็นชนบทคลาสสิกแบบเต็มเปี่ยม สองข้างทางเป็นหมู่บ้านชาวไทใหญ่ แต่ได้สัญชาติไทย ขับไปหนึ่งชั่วโมงก็จะถึงหมู่บ้านไทยบ้านสุดท้าย จากนั้นก็จะเป็นทางลูกรังทรหดแบบคอออฟโร้ดต้องหลงรัก เพียงไม่ถึงครึ่งชั่วโมงก็ถึงดอยไตแลง โดยมีทหารเฝ้าตรวจเช็คเป็นระยะๆทั้งฝั่งไทยและไทใหญ่
ดอยไตแลงไม่ได้มีสภาพเป็นเมืองเจริญ หรือเป็นค่ายทหารแข็งแกร่งมั่นคงแบบที่หลายๆคนคิด แต่มีลักษณะเป็นหมู่บ้านชนบท ทอดตัวอยู่บนสันเขายาวเหยียด ตัวดอยไตแลงสูงที่สุด ตั้งอยู่กึ่งกลาง ล้อมรอบด้วยดอยบริวารอีก 5 ดอย เรียกว่าเป็นชัยภูมิที่ยากจะพิชิต ไม่ว่าใช้กำลังมากแค่ไหน และที่สำคัญ อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี และวิวสวยแบบหาตัวจับยาก มองไปทางไหนก็เป็นทิวเขาสุดลูกหูลูกตา แถมเป็นเขาที่มีประวัติศาสตร์โชกเลือดจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นสมรภูมิทั้งระหว่างว้าและไทใหญ่ กับพม่าและไทใหญ่
ถนนหนทางที่นี่ยังคงเป็นดินลูกรัง เหมือนกับบ้านเรือนที่ยังเป็นเพิงแบบชนบท เพราะคนที่นี่ส่วนใหญ่อพยพหนีการกวาดล้างจากกองทัพพม่า จึงไม่มีทรัพย์สินอะไรมามากนัก และบนดอยก็ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก และไม่ได้มีภูมิศาสตร์เหมาะแก่การอยู่อาศัยมากนัก เนื่องจากมีน้ำน้อย และเป็นที่ลาดชัน เพาะปลูกยาก
แต่ที่นี่ก็ไม่ได้แห้งแล้งกันดารไปเสียทีเดียว กองทัพรัฐฉานพยามยามสร้างสาธารณูปโภค ทั้งโรงเรียน โรงพยาบาล รวมถึงหอประวัติศาสตร์และอนุสาวรีย์วีรกษัตริย์ไทใหญ่ เจ้าเสือข่านฟ้า และอนุสาวรีย์พระนเรศวร กษัตริย์ไทยที่ชาวไทใหญ่นับถือมาก เนื่องจากเป็นผู้รบชนะพม่า และช่วยปลดแอกเหล่าเจ้าฟ้าไทใหญ่ในยุคนั้นจากการเป็นประเทศราชพม่า
นอกจากนี้ ตามชุมชนก็มีร้านค้าขายของเล็กๆน้อยๆ ซึ่งขนมาจากฝั่งไทยเกือบทั้งหมด และมีอาหารไทใหญ่พื้นบ้านที่อาจจะไม่อร่อยเท่าในเมืองใหญ่อย่างเชียงตุงหรือตองยี แต่ก็ได้รสชาติแบบพื้นเมือง ผสมผสานกลิ่นอายของเลือดรักชาติและความเป็นนักสู้ ที่ทำให้การใช้ชีวิตที่นี่ได้อารมณ์ไม่เหมือนที่ไหนๆในเมียนมาร์
Category
🗞
News