ไอเดียเจ๋ง! ปางช้างแม่สา จ.เชียงใหม่ นำมูลช้างมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ กระถางต้นไม้ และกาแฟขี้ช้าง หารายได้เลี้ยงพนักงานและช้าง 75 เชือก ที่มีค่าใช้จ่ายเดือนละกว่า 5 ล้านบาท
ปางช้างแม่สา ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ เปิดตัวผลิตภัณฑ์จากมูลช้าง ทำเป็นผลิตภัณฑ์กระถางปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ และพืชผักสวนครัว ขนาด 3-5 นิ้ว และยังเป็นปุ๋ยย่อยสลายเองภายใน 3 เดือน ขั้นตอนการทำ นำมูลช้างมาตากแดด นำมาผสมกับแป้งมัน เข้าสู่กระบวนการผลิต นำเข้าเครื่องอัดด้วยมือ ออกมาเป็นรูปกระถาง และไร้กลิ่น สามารถผลิตได้วันละ 30-40 กระถาง ขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินราคาจำหน่าย ส่วนกาแฟขี้ช้างจะมีการปลูกในอนาคตอันใกล้นี้
ผศ.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน รอง ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร ม.แม่โจ้ บอกว่า ในปางช้างแม่สา มีช้างดูแลทั้งหมด 75 เชือก ช่วงนี้ประสบปัญหาไม่มีนักท่องเที่ยว เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งแต่ละเดือนมีค่าใช้จ่าย ค่าพนักงาน และค่าดูแลช้าง เดือนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท ช้างแต่ละเชือกกินจุ 200 กิโลกรัม/วัน หรือใช้หญ้ามากกว่า 10 ตัน/วัน ในการเลี้ยง และมีมูลช้างที่ขับถ่ายออกมา วันละ 5-6 ตัน จึงคิดวิธีการบริหารจัดการของเสีย หรือเรื่องสิ่งแวดล้อม จึงนำมูลช้างมาทำปุ๋ยมูลช้างอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์กระถางปลูกไม้ดอก ซึ่งมูลช้างมีแร่ธาตุสูง นำไปบำรุงดินเป็นปุ๋ยให้กับพืชและไม้ผลได้ทุกชนิด ให้ผลผลิตสูง ทั้งต้นข้าว ต้นมะละกอ หรือพืชผักสวนครัว ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ เป็นการพัฒนาปุ๋ยมูลช้างให้มีธาตุอาหารครบถ้วน
ส่วนการทำปุ๋ยมูลช้าง จะมีแกลบหยาบ มูลช้างแห้ง รำละเอียด หัวเชื้อจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง และน้ำสะอาด คลุกเคล้าให้เข้ากัน เมื่อปุ๋ยจับเป็นก้อนแล้ว ทิ้งไว้ในที่ร่ม 21 วัน จึงนำไปใช้ผสมดินเป็นปุ๋ยต่อไป
ปางช้างแม่สา ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ เปิดตัวผลิตภัณฑ์จากมูลช้าง ทำเป็นผลิตภัณฑ์กระถางปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ และพืชผักสวนครัว ขนาด 3-5 นิ้ว และยังเป็นปุ๋ยย่อยสลายเองภายใน 3 เดือน ขั้นตอนการทำ นำมูลช้างมาตากแดด นำมาผสมกับแป้งมัน เข้าสู่กระบวนการผลิต นำเข้าเครื่องอัดด้วยมือ ออกมาเป็นรูปกระถาง และไร้กลิ่น สามารถผลิตได้วันละ 30-40 กระถาง ขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินราคาจำหน่าย ส่วนกาแฟขี้ช้างจะมีการปลูกในอนาคตอันใกล้นี้
ผศ.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน รอง ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร ม.แม่โจ้ บอกว่า ในปางช้างแม่สา มีช้างดูแลทั้งหมด 75 เชือก ช่วงนี้ประสบปัญหาไม่มีนักท่องเที่ยว เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งแต่ละเดือนมีค่าใช้จ่าย ค่าพนักงาน และค่าดูแลช้าง เดือนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท ช้างแต่ละเชือกกินจุ 200 กิโลกรัม/วัน หรือใช้หญ้ามากกว่า 10 ตัน/วัน ในการเลี้ยง และมีมูลช้างที่ขับถ่ายออกมา วันละ 5-6 ตัน จึงคิดวิธีการบริหารจัดการของเสีย หรือเรื่องสิ่งแวดล้อม จึงนำมูลช้างมาทำปุ๋ยมูลช้างอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์กระถางปลูกไม้ดอก ซึ่งมูลช้างมีแร่ธาตุสูง นำไปบำรุงดินเป็นปุ๋ยให้กับพืชและไม้ผลได้ทุกชนิด ให้ผลผลิตสูง ทั้งต้นข้าว ต้นมะละกอ หรือพืชผักสวนครัว ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ เป็นการพัฒนาปุ๋ยมูลช้างให้มีธาตุอาหารครบถ้วน
ส่วนการทำปุ๋ยมูลช้าง จะมีแกลบหยาบ มูลช้างแห้ง รำละเอียด หัวเชื้อจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง และน้ำสะอาด คลุกเคล้าให้เข้ากัน เมื่อปุ๋ยจับเป็นก้อนแล้ว ทิ้งไว้ในที่ร่ม 21 วัน จึงนำไปใช้ผสมดินเป็นปุ๋ยต่อไป
Category
🗞
News