ญาติหนุ่มวัย 22 ปี ที่ประสบอุบัติเหตุ โวยหลังเสียชีวิตคาโรงพยาบาล ขณะเข้ารับยาสลบเพื่อผ่าตัด พร้อมตั้งข้อสังเกตลายเซ็นยินยอมผ่าตัดไม่ใช่ของญาติและผู้ตาย ด้านโรงพยาบาลโต้กลับเป็นลายเซ็นผู้ตาย
คดีนี้เกิดขึ้นจากกรณีมีญาติของนายอดิศร จิตต์มั่น อายุ 22 ปี ที่ประสบอุบัติเหตุแล้วเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลประจำอำเภอแห่งหนึ่งใน จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563 โดยมีการผ่าตัด 2 ครั้ง ครั้งแรกในวันที่ 11 ธันวาคม 2563 แพทย์ได้ทำการวางยาสลบและผ่าตัดช่องท้อง เพราะมีบาดแผลฉีกขาดที่ลำไส้ 4 จุด และครั้งที่ 2 ในวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ผ่าตัดกระดูกขาหัก จากนั้นนายอดิศร กลับมีความดันลดลงและเสียชีวิต หลังจากแพทย์ทำการบล็อกหลัง (ฉีดยาเฉพาะจุด) เพื่อจะทำการผ่าตัดกระดูกขาที่หัก
ทางญาติพี่น้องติดใจในการตายของนายอดิศร เพราะก่อนผ่าตัด ผู้ตายอาการไม่สาหัสขนาดจะต้องตาย และยังต้องข้อสังเกตว่า ลายเซ็นยินยอมการผ่าตัดกระดูกขานั้นไม่เหมือนลายเซ็นของพ่อผู้ตายที่ไปเซ็นเป็นพยานในวันก่อนผ่าตัด
วันนี้ (15 ธ.ค.) พี่สาวของผู้เสียชีวิตได้เดินทางไปที่ สภ.บางบ่อ เพื่อขอลงบันทึกประจำวันว่าติดใจในการตายของนายอดิศร และให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจคลี่คลายข้อสงสัยให้ จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ประสานไปยังผู้อำนวยการโรงพยาบาล และพาพี่สาวของผู้ตายไปเจรจากันที่โรงพยาบาลเกิดเหตุ โดยใช้เวลาเจรจากันประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนที่พี่สาวของผู้ตายจะออกมาเปิดเผยว่า ถึงแม้ทางโรงพยาบาลจะออกมาชี้แจง แต่ตนก็ยังติดใจในการตายของน้องชายอยู่หลายอย่าง โดยทางโรงพยาบาลแจ้งว่า ต้องรอผลพิสูจน์การตายโดยละเอียดว่าตายจากสาเหตุใดกันแน่ ซึ่งหากเหตุผลที่โรงพยาบาลอ้างสอดคล้องกับพยานหลักฐาน ทางญาติก็จะยอมรับ
จากนั้นทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ นพ.นนท์ จินดาเวช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ ได้แถลงข่าวในเรื่องนี้ว่า การรักษาเป็นไปตามขั้นตอนของแพทย์ทุกขั้นตอน ส่วนกรณีที่นายอดิศรเสียชีวิตนั้น เพราะมีความดันลดต่ำลง หลังจากที่ทีมแพทย์ให้ยาสลบแบบบล็อกหลัง และเสียชีวิตลงก่อนแพทย์จะทำการผ่าตัดกระดูกที่ขา โดยยืนยันว่า ผู้ตายอายุ 21 ปี บรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นคนเซ็นยินยอมให้ผ่าตัดเอง โดยมีพ่อของผู้ตายเซ็นเป็นพยาน และยืนยันว่าไม่มีการปลอมแปลงลายเซ็นญาติของผู้ตายแน่นอน
รายงานของทางโรงพยาบาล ระบุว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาให้พ่อของผู้ตายดูลายเซ็นแล้ว ก็ยอมรับว่าเป็นลายเซ็นของผู้ตาย ส่วนเรื่องการเยียวยานั้น ผู้ตายเป็นผู้ประกันตน ก็คงให้ทางประกันสังคมเยียวยาในเบื้องต้นตามกฎหมาย และจะมีการตั้งกรรมการสอบในเรื่องนี้ ส่วนเรื่องความผิดพลาดหรือความคลาดเคลื่อนเกิดจากจุดไหน ต้องรอผลชันสูตรการตายก่อน
คดีนี้เกิดขึ้นจากกรณีมีญาติของนายอดิศร จิตต์มั่น อายุ 22 ปี ที่ประสบอุบัติเหตุแล้วเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลประจำอำเภอแห่งหนึ่งใน จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563 โดยมีการผ่าตัด 2 ครั้ง ครั้งแรกในวันที่ 11 ธันวาคม 2563 แพทย์ได้ทำการวางยาสลบและผ่าตัดช่องท้อง เพราะมีบาดแผลฉีกขาดที่ลำไส้ 4 จุด และครั้งที่ 2 ในวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ผ่าตัดกระดูกขาหัก จากนั้นนายอดิศร กลับมีความดันลดลงและเสียชีวิต หลังจากแพทย์ทำการบล็อกหลัง (ฉีดยาเฉพาะจุด) เพื่อจะทำการผ่าตัดกระดูกขาที่หัก
ทางญาติพี่น้องติดใจในการตายของนายอดิศร เพราะก่อนผ่าตัด ผู้ตายอาการไม่สาหัสขนาดจะต้องตาย และยังต้องข้อสังเกตว่า ลายเซ็นยินยอมการผ่าตัดกระดูกขานั้นไม่เหมือนลายเซ็นของพ่อผู้ตายที่ไปเซ็นเป็นพยานในวันก่อนผ่าตัด
วันนี้ (15 ธ.ค.) พี่สาวของผู้เสียชีวิตได้เดินทางไปที่ สภ.บางบ่อ เพื่อขอลงบันทึกประจำวันว่าติดใจในการตายของนายอดิศร และให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจคลี่คลายข้อสงสัยให้ จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ประสานไปยังผู้อำนวยการโรงพยาบาล และพาพี่สาวของผู้ตายไปเจรจากันที่โรงพยาบาลเกิดเหตุ โดยใช้เวลาเจรจากันประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนที่พี่สาวของผู้ตายจะออกมาเปิดเผยว่า ถึงแม้ทางโรงพยาบาลจะออกมาชี้แจง แต่ตนก็ยังติดใจในการตายของน้องชายอยู่หลายอย่าง โดยทางโรงพยาบาลแจ้งว่า ต้องรอผลพิสูจน์การตายโดยละเอียดว่าตายจากสาเหตุใดกันแน่ ซึ่งหากเหตุผลที่โรงพยาบาลอ้างสอดคล้องกับพยานหลักฐาน ทางญาติก็จะยอมรับ
จากนั้นทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ นพ.นนท์ จินดาเวช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ ได้แถลงข่าวในเรื่องนี้ว่า การรักษาเป็นไปตามขั้นตอนของแพทย์ทุกขั้นตอน ส่วนกรณีที่นายอดิศรเสียชีวิตนั้น เพราะมีความดันลดต่ำลง หลังจากที่ทีมแพทย์ให้ยาสลบแบบบล็อกหลัง และเสียชีวิตลงก่อนแพทย์จะทำการผ่าตัดกระดูกที่ขา โดยยืนยันว่า ผู้ตายอายุ 21 ปี บรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นคนเซ็นยินยอมให้ผ่าตัดเอง โดยมีพ่อของผู้ตายเซ็นเป็นพยาน และยืนยันว่าไม่มีการปลอมแปลงลายเซ็นญาติของผู้ตายแน่นอน
รายงานของทางโรงพยาบาล ระบุว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาให้พ่อของผู้ตายดูลายเซ็นแล้ว ก็ยอมรับว่าเป็นลายเซ็นของผู้ตาย ส่วนเรื่องการเยียวยานั้น ผู้ตายเป็นผู้ประกันตน ก็คงให้ทางประกันสังคมเยียวยาในเบื้องต้นตามกฎหมาย และจะมีการตั้งกรรมการสอบในเรื่องนี้ ส่วนเรื่องความผิดพลาดหรือความคลาดเคลื่อนเกิดจากจุดไหน ต้องรอผลชันสูตรการตายก่อน
Category
🗞
News