นนทบุรี ทนายรณณรงค์ เผย กฎหมายใหม่จับสัตว์น้ำในพื้นที่อภัยทานปรับสูงสุด 5 หมื่นบาท
จากกรณีผู้ใช้ Tik tok รายหนึ่ง ได้โพสต์คลิป ขณะที่มีชายรายหนึ่ง อายุประมาณ 45-50 ปี สวมเสื้อคลุมสีน้ำเงิน สวมแมสก์สีดำ กางเกงขายาว ได้ถือปืนยิงปลาเข้ามาหาปลา ในบริเวณโป๊ะริมน้ำวัดหงษ์ทอง ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ซึ่งเป็นเขตอภัยทาน มีป้ายติดไว้ว่าห้ามตกปลา และดื่มสุรา โดยโพสต์ระบุข้อความว่า “ คนใจบาป เราจะมาให้อาหารปลาในวัด “ หลังโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปทำให้มีชาวพุทธออกมาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก บางรายก็เห็นว่าไม่เหมาะสม ส่วนอีกมุมมองว่า อาจจะทำเลี้ยงปากท้องในครอบครัว
ล่าสุดเมื่อเวล่ 15.00 น. วันที่ 18 ก.ค.67 ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อสอบถามข้อกฎหมายกรณีดังกล่าวกับทางด้านนายรณรงค์ แก้วเพชร ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม เปิดเผยว่า การจับสัตว์น้ำในพื้นที่อภัยทาน มันมีกฎหมายกำหนดอยู่แล้ว ตามพระราชกำหนดการประมง 2558 กำหนดไว้ในมาตรา 56
มาตรา เขียนไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีประกาศกำหนด เว้นแต่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในทางวิชาการหรือเพื่อการบำรุงรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ และได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ซึ่งพูดง่ายๆก็คือว่าใครที่ไปจับสัตว์น้ำ จากบริเวณวัดในระยะประมาณ 6 เมตร ตรงนี้เป็นพื้นที่ห้ามเบียดเบียนสัตว์ ใคาฝ่าฝืน มีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 - 50,000 บาท หรือปรับมูลค่า 5 เท่าของราคาสัตว์น้ำ ทั้งนี้อยากจะฝากบอกว่ากรณีนี้ไม่ต้องกลัวว่าไม่มีเงินจ่าย เพราะกฎหมายไทยบอกว่า หากไม่มีเงินจ่ายไม่เป็นไร ก็จะจับเข้าสถานที่คุมขังแทนการจ่ายค่าปรับ
จากกรณีผู้ใช้ Tik tok รายหนึ่ง ได้โพสต์คลิป ขณะที่มีชายรายหนึ่ง อายุประมาณ 45-50 ปี สวมเสื้อคลุมสีน้ำเงิน สวมแมสก์สีดำ กางเกงขายาว ได้ถือปืนยิงปลาเข้ามาหาปลา ในบริเวณโป๊ะริมน้ำวัดหงษ์ทอง ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ซึ่งเป็นเขตอภัยทาน มีป้ายติดไว้ว่าห้ามตกปลา และดื่มสุรา โดยโพสต์ระบุข้อความว่า “ คนใจบาป เราจะมาให้อาหารปลาในวัด “ หลังโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปทำให้มีชาวพุทธออกมาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก บางรายก็เห็นว่าไม่เหมาะสม ส่วนอีกมุมมองว่า อาจจะทำเลี้ยงปากท้องในครอบครัว
ล่าสุดเมื่อเวล่ 15.00 น. วันที่ 18 ก.ค.67 ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อสอบถามข้อกฎหมายกรณีดังกล่าวกับทางด้านนายรณรงค์ แก้วเพชร ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม เปิดเผยว่า การจับสัตว์น้ำในพื้นที่อภัยทาน มันมีกฎหมายกำหนดอยู่แล้ว ตามพระราชกำหนดการประมง 2558 กำหนดไว้ในมาตรา 56
มาตรา เขียนไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีประกาศกำหนด เว้นแต่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในทางวิชาการหรือเพื่อการบำรุงรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ และได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ซึ่งพูดง่ายๆก็คือว่าใครที่ไปจับสัตว์น้ำ จากบริเวณวัดในระยะประมาณ 6 เมตร ตรงนี้เป็นพื้นที่ห้ามเบียดเบียนสัตว์ ใคาฝ่าฝืน มีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 - 50,000 บาท หรือปรับมูลค่า 5 เท่าของราคาสัตว์น้ำ ทั้งนี้อยากจะฝากบอกว่ากรณีนี้ไม่ต้องกลัวว่าไม่มีเงินจ่าย เพราะกฎหมายไทยบอกว่า หากไม่มีเงินจ่ายไม่เป็นไร ก็จะจับเข้าสถานที่คุมขังแทนการจ่ายค่าปรับ
Category
🗞
News